วันสบายๆ

แล้ววันนี้วันอะไร...ล่ะ

อิอิ

กระถางหัวใจ

ปลาน้อย

สวยๆ

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552

-♥-เทคนิคง่ายๆ ฝึกสมองให้ไบรต์ -♥-

เตรียมความพร้อมสำหรับการลุยงานใหม่ๆที่รออยู่ข้างหน้า ด้วยการเอ็กเซอร์ไซส์สมองให้ไบรต์ กับ 9 เทคนิคง่ายๆจากผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพประจำมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด... ถือเป็นของขวัญปีใหม่สำหรับตัวเองและคนที่คุณรักนะคะ

1) จิบน้ำบ่อยๆ เพราะสมองประกอบด้วยน้ำถึง 85 เปอร์เซ็นต์ เซลล์ สมองก็เหมือนต้นไม้ที่ต้องการน้ำหล่อเลี้ยง ถ้าขาดน้ำเมื่อไหร่ ต้นไม้ก็จะเหี่ยวแห้ง ส่งผลให้การส่งข้อมูลช้า กลายเป็นคนคิดช้า หรือคิดไม่ค่อยออก

2) หมั่นทานไขมันดีเป็นประจำทุกวัน เนื่องจากสมองเป็นก้อนไขมัน จำเป็นต้องมีไขมันดีไปทดแทนส่วนที่สึกหรอ อาหารบำรุงสมอง มีอาทิ น้ำมันปลา, สารสกัดใบแปะก๊วย, ปลาที่มีไขมันดี เช่น ปลาแซลมอน, นมถั่วเหลือง, วิตามินรวม และน้ำมันพริมโรสช่วยให้เซลล์ชุ่มน้ำ ส่วนวิตามินซีเพิ่มความสดชื่นกระปรี้กระเปร่า

3) นั่งสมาธิวันละ 12 นาที หลัง จากตื่นนอนทุกเช้า เพื่อให้สมองได้ผ่อนคลายอย่างเต็มที่ กระตุ้นให้เกิดจินตนาการเห็นภาพ และมีความคิดสร้างสรรค์

4) หัวเราะและยิ้มบ่อยๆ ทุกครั้งที่ยิ้มหรือหัวเราะ จะมีสารเอนโดรฟิน หรือสารแห่งความสุขหลั่งออกมา ช่วยกระตุ้นให้หัวใจอบอุ่น เกิดความรักและความหวังดีต่อคนรอบข้าง

5) ใส่ความตั้งใจกับสิ่งที่จะทำอย่างเต็มที่ เหมือนเป็นการป้อนโปรแกรมสมองว่า นี่คือสิ่งที่ต้องเกิดขึ้น ระหว่างวันสมองจะปรับพฤติกรรมเราให้ไปสู่เป้าหมายนั้นๆ ทำให้ประสบความสำเร็จในสิ่งต่างๆ เพราะสมองไม่แยกระหว่างสิ่งที่ทำจริงกับสิ่งที่เกิดขึ้น ทั้งสองอย่างจึงเป็นเสมือนสิ่งเดียวกัน

6) เรียนรู้สิ่งใหม่ๆทุกวัน หมายถึงสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น อ่านหนังสือเล่มใหม่, ทานอาหารร้านใหม่, รู้จักเพื่อนใหม่ และแลก เปลี่ยนวิธีการทำงานใหม่ๆกับเพื่อนร่วมงาน การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆทำ ให้สมองหลั่งสารเอนโดรฟินและโดปามีน เป็นสารแห่งการเรียนรู้ กระตุ้นให้อยากเรียน รู้และสร้าง สรรค์ไปเรื่อยๆ

7) ให้อภัยตัวเองทุกวัน ความโกรธทำให้เปลืองพลังงานสมอง อย่างน้อยๆถ้าให้อภัยผู้อื่นไม่ได้ ก็ลองลดภาระของสมอง ด้วยการให้อภัยตัวเอง

8) ฝึกเขียนขอบคุณสิ่งดีๆในชีวิต เพราะการเขียนเรื่องดีๆทำให้สมองคิดเชิงบวก พร้อมกับหลั่งสารเคมีดีๆออกมา ช่วยให้หลับฝันดี ตื่นมาทำสมาธิได้ง่าย และมีความคิดสร้างสรรค์

9) ฝึกหายใจลึกๆ สมองใช้ออกซิเจน 20-25 เปอร์เซ็นต์ของออกซิเจนที่เข้าสู่ร่างกาย การฝึกหายใจเข้าลึกๆ จึงเป็นการส่งพลังงานที่ดีไปยังสมอง ควรนั่งหลังตรงเพื่อให้ออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ ถ้านั่งทำงานนานๆ แนะนำให้เปลี่ยนบรรยากาศลุกขึ้นเดินยืดเส้นยืดสายบ้างให้ปอดขยาย.

ที่มาจากหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ



Create Date : 05 กุมภาพันธ์ 2551
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2551 7:13:44 น.

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552

กินยา แล้วนอนทันที อันตราย !!?? (เดลินิวส์)
โดย : นวพรรษ บุญชาญ

กินยาแล้วนอนทันทีอาจตายได้จริงหรือ เป็นคำถามที่หลายๆ คน ได้อ่านอีเมลที่มีการส่งต่อๆ กันไป อยากรู้คำตอบ

เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ. สถาบันเวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ บอกว่า มีส่วนที่จริงมาก เพราะการกินยาก่อนนอน คือกินยาแล้วนอนทันทียาอาจจะไปจับอยู่ที่ตรงหลอดอาหาร อยู่กึ่งกลางระหว่างคอหอยกับกระเพาะอาหาร พอยาไปติดอยู่บริเวณดังกล่าวก็จะไปกัดทำให้หลอดอาหารเกิดแผล พอเกิดแผลมากๆ คนที่กินยาจะรู้สึกเลยว่าร้อน แน่นหน้าอก ประมาณตี 3 จะลุกขึ้นมาเลย เพราะแน่นหน้าอก ซึ่งมักจะเกิดจากการกินยา 2 ประเภท คือ ยาที่เป็นกรด ประเภทวิตามินซี และยาที่เป็นพวกแคปซูลเหนียวๆ จะมีปัญหาติดหลอดลมมาก

วิธีง่ายๆ คือ จะต้องดื่มน้ำตามเยอะๆ หลังจากที่กินยา รอประมาณครึ่งชั่วโมงก่อนล้มตัวลงนอน เพื่อให้มั่นใจว่ายาที่กินเข้าไปผ่านไปยังกระเพาะอาหาร เพราะยาบางอย่างเวลากินน้ำตามเยอะเราจะรู้สึกเลยว่า มันจะไหลจากคอลงไปท้อง แต่ถ้าเรากินน้ำน้อยบางทีจะไม่รู้สึก แค่หายจากคอไป ไม่ได้หมายความว่ายาลงไปที่กระเพาะอาหาร ซึ่งจริงๆ มันอาจจะไปติดอยู่ที่หลอดอาหาร

ดังนั้นการกินยาก่อนนอน อย่าเพิ่งเอนตัวลงนอนทันที ยิ่งในคนที่มีภาวะกรดไหลย้อน ถ้ายาไปอยู่ตรงหลอดอาหารพอดีก็จะทำให้เกิดแผล จนแผลทะลุ ถ้าเป็นแผลเรื้อรังนานๆ อาจเป็นมะเร็ง เหมือนมีระเบิดเวลาอยู่ตรงหลอดอาหาร อันตรายกว่าคนทั่วไปที่ไม่มีภาวะกรดไหลย้อน

ถามว่าเวลากินยาควรดื่มน้ำเย็นหรือน้ำอุ่น ขอเรียนว่า ดื่มได้ทั้ง 2 ประเภท แต่ควรหลีกเลี่ยงน้ำผลไม้บางชนิดในกลุ่มส้ม มะนาว เพราะมันจะทำให้ยาแตกตัวเร็วตั้งแต่ในปาก แทนที่จะดูดซึมในกระเพาะอาหาร ก็จะแตกตัวในปากไม่ช่วยรักษาโรค แถมทำให้ยาไม่ดูดซึมดี

ส่วนที่บอกว่า ห้ามกินยาพร้อมกับนม หรือห้ามกินยาหลังดื่มนมนั้น ความจริงแล้วสามารถดื่มนมพร้อมกับยาได้ แต่มีข้อยกเว้นกับยาบางประเภท เช่น เตตร้าไซคลิน ดอกซีไซคลีน ซึ่งเป็นยาฆ่าเชื้อ ยารักษาสิวจะกินกับนมไม่ได้

ถ้ายาชนิดเดียวกันแต่มีทั้งยาเม็ด ยา น้ำ แคปซูล ควรกินชนิดใด ขอเรียนว่า ยาเม็ดจะได้ยาเต็มเม็ดเต็มหน่วยกว่ายาประเภทอื่น

อย่างไรก็ตามสิ่งที่อยากแนะนำคือ ยาที่ไม่ได้ทำในรูปแบบให้แบ่งได้ เช่น แคปซูล ห้ามแบ่งเด็ดขาด เพราะมีบางบ้านแบ่งเอาไปใส่น้ำหวานให้ลูกกิน ซึ่งต้องบอกว่า การแบ่งยาที่ไม่ได้ทำในรูปแบบให้แบ่งได้ อาจทำให้ยาไม่ออกฤทธิ์ และอาจเกิดอันตรายได้

ขอขอบคุณความรู้ดีๆจาก
http://variety.mwake.com/story/495/กินยาแล้วนอน-อันตราย.html
อย่าลืมดูแลสุขภาพกันด้วยนะคะ

การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในทางการแพทย์

ความเป็นมาของการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในทางการแพทย์
ตั้งแต่มนุษย์ได้คิดค้นประดิษฐ์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการคำนวณ(Electronic Computer)ขึ้นมาตั้งแต่ประมาณปีพ.ศ. 2491 (ก่อนหน้านั้นเป็น Mechanic) ก็ได้มีผู้พยายามประยุกต์ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์กับงาน กิจกรรมต่างๆมากมายงานทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขก็เป็นอีกงานหนึ่งที่มีผู้พัฒนาให้ใช้ระบบงานคอมพิวเตอร์ประเทศไทยเริ่มมีการนําเข้าและใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2507 แต่ทาง ด้านงานการแพทย์และสาธารณสุขนั้น ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า มีผู้ริเริ่มพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ในงานการแพทย์และสาธารณสุขในปี พ.ศ. ใดลักษณะงาน ภารกิจ กิจกรรม ทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขนั้น มีมากมายหลากหลายกิจกรรมที่เหมาะกับการพัฒนาเข้าสู่ระบบงานคอมพิวเตอร์ (Computerizedsystem)โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการศึกษา รวบรวม การสํารวจเบื้อง ต้น การพัฒนา แนวทางการพัฒนา ระบบงานคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในงานการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อเป็นสถานบริการที่มี คุณภาพ ประสิทธิภาพ เสมอภาพ ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายและ ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ มีมาตรฐานด้านบริการ และเกิดการพัฒนาคุณภาพบริการอย่าง ต่อเนื่อง เป็นสถานบริการที่ประชาชนในพื้นที่ศรัทธา เชื่อมั่นและเลือกใช้บริการเป็นอันดับแรกผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการบริการ และมีผู้ให้บริการ ที่มีความพึงพอใจต่อการบริการ มีมาตรฐานการรักษาและสอดคล้องกับปัญหาท้องถิ่นเป็น NETWORK HOSPITAL ร่วมกับกับสถานบริการสาธารณสุขอื่นๆ ในด้านบริการ วิจัย และ ผลิตบุคลากร
ด้านบริการ
เพิ่มความเร็วในการบริการ โดยลดขั้นตอนในการรับบริการของผู้ป่วย เป็น ร.พ.ที่ประชาชนนิยม มีความพอใจเมื่อใช้บริการ
มีความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการ รองรับสิทธิการรับรู้ของผู้ป่วย และมีงบรายได้
น้อยเพียงพอ
พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารด้านบริการ โดยอาศัยระบบ computer on line
พัฒนาคุณภาพด้านการบริการให้ได้มาตรฐาน และ เป็นที่ยอมรับได้ ( accredited )
ด้านวิชาการ
พัฒนาระบบการตรวจสอบประสิทธิภาพของการปฎิบัติงานทางคลีนิค (ตาม
evidence base medicine)
มีระบบข้อมูลข่าวสารทั่วทั้งองค์กร และ สามารถเชื่อมต่อนอกองค์กรในอนาคต
มีการพัฒนาด้านวิชาการอย่างต่อเนื่อง
สามารถนำข้อมูลข่าวสารสาธารณสุข และระบาดวิทยา เพื่อนำไปสู่การวางแผน
ควบคุม ประเมินผล การดำเนินงานด้านสาธารณสุข
ด้านเวชศาสตร์ชุมชน
พัฒนาเชิงรุกในโรคที่พบมากในพื้นที่ และ โรคทาง CD และ NCD ใช้ระบบ GIS ในการติดตามผู้ป่วยในพื้นที่เพื่อการ ป้องกันและควบคุมโรคระบาด และการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยที่บ้าน
ระบบงานสารสนเทศของโรงพยาบาลฯที่ผ่านมา
ระบบงานคอมพิวเตอร์และสารสนเทศถูกประยุกต์มาใช้กับงานในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขไทยมาตั้งแต่ ประมาณปี พ.ศ. 2526 โดยใช้เครื่อง Microcomputerในลักษณะ Standalone ในระยะแรก (ก่อนหน้านั้น โรงพยาบาลเอกชน มีการใช้ Minicomputer และ บางส่วนของโรงเรียนแพทย์บางแห่งใช้ Mainframe Computer) ดังจะเห็นได้จากผลงาน(บางส่วน ถึงแม้จะไม่ใช้งานทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยตรง)ที่เป็นที่ยอมรับกันในสมัยนั้น เช่น Word ราชวิถี / Word รามา เป็นต้น
ลักษณะงานที่ใช้ระบบงานคอมพิวเตอร์ในระยะแรกนั้น มักจะเป็น “งานเฉพาะหน้า”อย่างเช่น งานรายงานเอกสาร งานคำนวณเล็กๆและสถิติ เป็นต้น

แหล่งที่มา
http://www.vcharkarn.com/vblog/33340
ผู้เขียน: suthat_mit11
post ครั้งแรก: Sun 21 October 2007, 1:14 pm ปรับปรุงล่าสุด: Sun 21 October 2007, 2:51 pm